:
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ยินดีให้บริการ ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ / โทรสาร (FAX) : 077-391-212 E-mail : office@banyang.go.th

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไป

  • ที่ตั้งและอาณาเขต

      องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านยาง อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอคีรีรัฐนิคม ห่างจากตัวอำเภอที่ใกล้ที่สุด ประมาณ 5 กิโลเมตร ส่วนที่ไกลที่สุด ประมาณ 15 กิโลเมตร เนื้อที่ของตำบลบ้านยางทั้งหมด ประมาณ 65.60 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 45,788 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียงดังนี้
        
ทิศเหนือ จด ตำบลน้ำหัก
        
ทิศใต้ จด ตำบลท่าขนอน, แม่น้ำพุมดวง
        
ทิศตะวันออก จด ตำบลท่ากระดาน
        
ทิศตะวันตก จด ตำบลท่าขนอน

  • สภาพภูมิประเทศ

      สภาพพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศของตำบลบ้านยาง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและที่ราบต่ำบางส่วน ริมฝั่งแม่น้ำคลองยัน พื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ปลูกผัก ปลูกปาล์มน้ำมัน ปลูกพืชไร่ และมีบางส่วนสามารถทำนาได้ประมาณ 7 % ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบลบ้านยาง พื้นที่ทำนามีอยู่หมู่ที่ 1,3,5,6,9 ทุ่งนาที่ทำอยู่ประจำ คือ หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 พื้นที่แม่น้ำคลองยันไหลผ่าน คือ หมู่ที่ 2,6,7,9,10,4 คลองพุมดวงไหลผ่าน หมู่ที่ 3 และมีภูเขาขนาดเล็กในพื้นที่หลายลูก เช่น
         
เขาหลุง ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 4
         
เขาทะลุ ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ 5 จดแม่น้ำคลองยัน
         
เขาชังกะ ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ 7 10 8 11
         
เขาวง ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ 9
         
ถ้ำฤาษี ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่ 9
         
ถ้ำแก้ว ตั้งอยู่ เขตหมู่ที่
5

  • สภาพภูมิอากาศ

      สภาพภูมิอากาศของตำบลบ้านยางได้รับปริมาณน้ำฝนต่อปี 1,200-1,500 มิลลิเมตรอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 30 องศาเซลเซียส ซึ่งมีสภาพเหมือนกับที่ว่าการอำเภอคีรีรัฐนิคม เนื่องจากเป็นตำบลที่อยู่ใกล้กัน

  • การปกครอง

การแบ่งเขตการปกครอง ตำบลบ้านยางแบ่งออกเป็น 11 หมู่บ้าน ดังนี้
            
หมู่ที่ 1 บ้านยาง มี 81 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 2 บ้านปากหาร มี 110 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 3 บ้านย่านยาว มี 130 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 4 บ้านต้นเหรียง มี 90 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 5 บ้านนางแก้ว มี 56 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 6 บ้านปากคู มี 150 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 7 บ้านท่ากระดาน มี 77 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 8 บ้านเชี่ยวหมวง มี 100 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 9 บ้านเขาวง มี 62 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 10 บ้านหน้าเขา มี 85 ครัวเรือน
            
หมู่ที่ 11 บ้านเชี่ยวไทร มี 71 ครัวเรือน

สภาพทางด้านเศรษฐกิจ

  • หน่วยธุรกิจในตำบล

       - จำนวนธนาคาร จำนวน - แห่ง
       -
จำนวนสถานประกอบการ จำนวน - แห่ง
       -
การใช้พื้นที่และการถือครองที่ดินทางการเกษตร
       -
พื้นที่ถือครอง จำนวน 21,285 ไร่
       -
พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 18,212 ไร่
       -
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ภูเขา และพื้นที่อื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 82 ของพื้นที่ถือครองทั้งหมด

  • อาชีพของประชากร

           - อาชีพหลัก ได้แก่ ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล
           -
อาชีพรอง ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้างต่าง ๆ
           (1)
ยางพารา ปริมาณผลผลิตประมาณ 338 กิโลกรัม/ไร่/ปี
          
รายได้สุทธิ 92,607 บาท/ครัวเรือน/ปี
           -
พืชเศรษฐกิจรอง

           (2)
ปาล์มน้ำมัน ปริมาณผลผลิตประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี รายได้สุทธิ 50,824 บาท/ครัวเรือน/

          รายได้สุทธิ 50,824 บาท/ครัวเรือน/

           (3)
ปศุสัตว์
           -
โคพื้นเมือง จำนวน 223 ราย จำนวน 1,110 ตัว
           -
ไก่พื้นเมือง จำนวน 397 ราย จำนวน 6,847 ตัว
           -
สุกร จำนวน 286 ราย จำนวน 1,363 ตัว
           -
เป็ด จำนวน 11 ราย จำนวน 144 ตัว
           -
ประมง -
           -
สหกรณ์ การรวมกลุ่ม และแหล่งเงินทุน
          
กลุ่มอาชีพที่ได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจาก อบต.


           
ปีงบประมาณ 2545
           

            หมู่ที่ 1 กลุ่มเลี้ยงสุกร จำนวน 30,000 บาท
           
หมู่ที่ 3 กลุ่มแม่บ้าน (ทำกาละแม) จำนวน 30,000 บาท
           
หมู่ที่ 7 กลุ่มเกษตรเลี้ยงโค จำนวน 49,969 บาท

             หมู่ที่ 11 กลุ่มแม่บ้านทำขนมชั้น จำนวน 28,260 บาท
           

            ปีงบประมาณ 2547           

            หมู่ที่ 2 กลุ่มอาชีพทำปุ๋ย จำนวน 300,000 บาท
           
หมู่ที่ 4 กลุ่มทำหมอนสมุนไพร จำนวน 30,000 บาท
           
หมู่ที่ 5 กลุ่มชาวนา จำนวน 20,000 บาท
           
หมู่ที่ 6 กลุ่มปลูกพืชสมุนไพร จำนวน 30,600 บาท

           
ปีงบประมาณ 2548
           
หมู่ที่ 8,11 กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรม จำนวน 20,400 บาท


           
ปีงบประมาณ 2549
           
หมู่ที่ 4 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร่วมใจ จำนวน 40,000 บาท
           
หมู่ที่ 6 กลุ่มปลูกพืชผักหมุนเวียนแปลงเรียนรู้พันธ์ปาล์มน้ำมัน จำนวน 20,000 บาท
           
หมู่ที่ 11 กลุ่มแม่บ้านร่วมพัฒนา จำนวน 40,000 บาท
           
ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ หมู่ที่ 9 บ้านเขาวง มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 36 คน รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 40,000 บาท

สภาพทางสังคม

  • จำนวนประชากร

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร(ชาย)

จำนวนประชากร(หญิง)

รวม

1

บ้านยาง

158

149

307

2

บ้านปากหาร

209

202

411

3

บ้านย่านยาว

231

234

465

4

บ้านต้นเหรียง

195

191

386

5

บ้านนางแก้ว

104

109

213

6

บ้านปากคู

231

263

494

7

บ้านท่ากระดาน

146

161

307

8

บ้านเชี่ยวหมวง

171

179

350

9

บ้านเขาวงศ์

127

116

243

10

บ้านหน้าเขา

141

166

307

11

บ้านเชี่ยวไทร

136

142

278

รวม

1,849

1,912

3,761

  • อาชญากรรม 
ปี พ.ศ รายการคดี จำนวนการเกิด/ราย จำนวนที่จับได้/ราย หมายเหตุ
2548 คดีอาญาทั่วไป 12 ราย 8 ราย  
  คดีอุกฉกรรจ์ 1 ราย -  
  พรบ.ยาเสพติด 7 ราย 7 ราย  
  การพนัน 3 ราย 3 ราย  
  คดีอื่น ๆ 1 ราย 1 ราย  
2549 คดีอาญาทั่วไป 4 ราย 3 ราย  
  คดีสารระเหย 6 ราย 6 ราย  
  ยาเสพติด(กัญชา) 1 ราย 1 ราย  
  การพนัน(เล่นไพ่) 1 ราย 1 ราย  

ที่มา : ป้อมสายตรวจตำบลบ้านยาง

  • การศึกษา

ลำดับที่

โรงเรียน

จำนวนนักเรียน

อนุบาล1

อนุบาล 2

ป.1

ป.2

ป.3

ป.4

ป.5

ป.6

รวม

1

วัดนิลาราม (ตั้งอยู่หมู่ที่ 6)

15

10

13

13

19

13

13

17

113

2

บ้านเชี่ยวหมวง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 8)

7

9

6

3

7

9

11

14

66

3

บ้านยาง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)

11

7

5

16

15

17

27

15

107

4

บ้านท่ากระดาน (ตั้งอยู่หมู่ที่ 7)

2

4

3

4

6

1

3

7

30

5

บ้านปากหาร (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2)

10

10

15

12

10

14

17

13

101

6

บ้านย่านยาว (ตั้งอยู่หมู่ที่ 3)

11

6

4

17

10

11

8

8

75

รวม

56

46

46

65

67

65

73

74

492

 

(1) โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน แห่ง

 (2) โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)
     1. 
โรงเรียนคีรีรัฐวิทยาคม จำนวนครู 30 คน

 

(3) โรงเรียนอนุบาลเอกชน จำนวน แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 2)
     1. 
โรงเรียนอนุบาลวริศา จำนวนครู คน
(4) 
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน แห่ง (ตั้งอยู่หมู่ที่ 1)

     1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยาง จำนวนครู คน 

  • ศาสนา

           - วัด/สำนักสงฆ์ 3 แห่ง
             1.
วัดนิลาราม (วัดกาซีเหนือ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
             2.
วัดนิลาราม (วัดกาซีใต้) ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
             3.
วัดเสริมนิมิตร ตั้งอยู่หมู่ที่
2
             -
ประชากรตำบลบ้านยางนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด

  • ขนบธรรมเนียมและประเพณี

          - ประเพณี
             -
ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน เมษายน
             -
ประเพณีจบปีจบเดือน (สวดกลางบ้าน) เดือน เมษายน - พฤษภาคม
             -
ประเพณีวันเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
             -
ประเพณีวันสารทไทย เดือน กันยายน
             -
ประเพณีเวียนเทียน วันมาฆะบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
         -
อิทธิพลทางความคิด
             -
การทำขวัญนาค
             -
การทำขวัญทหาร
             -
การดูฤกษ์ ดูยาม ก่อนแรกทำงานต่าง ๆ

  • การสาธารณสุข
       - มีสถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้านจำนวน 1 แห่ง คือ
       -
    สถานีอนามัยตำบลบ้านยาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 2 คน
       -
    ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 2 แห่ง
       -
    อัตราการเกิด โดยเฉลี่ย 15.62 คน/ปี (ต่อประชากร 1,000 คน)
             -
    อัตราการตาย โดยเฉลี่ย 4.68 คน/ปี (ต่อประชากร 1,000 คน)
             -
    โรคที่เกิดในพื้นที่มากที่สุด
             1.
    โรคระบบทางเดินหายใจ
             2.
    โรคระบบกล้ามเนื้อ
             3.
    โรคระบบผิวหนัง
             -
    สาเหตุการตาย เรียงลำดับ
             1.
    โรคชรา
             2.
    โรคมะเร็ง
             3.
    อุบัติเหตุ
             4.
    โรคเอดส์
             5.
    โรคความดันโลหิตสูง
             6.
    โรคเบาหวาน

การบริการพื้นฐาน

  • การคมนาคม

การคมนาคม สามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ
        1.
ถนนลาดยางสายพุนพิน-คีรีรัฐนิคม และสายคีรีรัฐนิคม - กิ่งอำเภอวิภาวดี
       
ในตำบลบ้านยางมีการคมนาคมทางบก ดังนี้
        -
ถนน คสล. 3 สาย รวมระยะทาง 670 เมตร
        -
ถนนลาดยาง 4 สาย รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร
        -
ถนนลูกรัง23 สาย รวมระยะทาง 50.22 กิโลเมตร

        2.
ทางรถไฟสายคีรีรัฐนิคม-สุราษฎร์ธานี มีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสาร 2 แห่ง ดังนี้
        -
ที่หยุดรถเขาหลุง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 กับหมู่ที่ 3
        -
ที่หยุดรถบ้านยาง ตั้งอยู่หมู่ที่
1

  • การโทรคมนาคม

       มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 4 แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1,6,7,8
       -
มีอินเตอร์เน็ตตำบลใช้ จำนวน 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง

  • การไฟฟ้า

       ประชากรในตำบลบ้านยาง การไฟฟ้าทั่วถึงทุกหมู่บ้าน ใช้คิดเป็นร้อยละประมาณ 99

  • แหล่งน้ำที่สร้าง- ฝายน้ำล้น จำนวน 2 แห่ง
    บ่อน้ำตื้น จำนวน 197 แห่ง
    บ่อโยก จำนวน 11 แห่ง
    ประปาหมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง
    ชลประธาน จำนวน 4 แห่ง
  • แหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์

         มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 1 แห่ง คือ สถานที่เก็บวัตถุโบราณวัดกาซี ตั้งอยู่หมู่ที่ 6